หนวดของแมลง อยู่ระหว่างตาหรือใต้ฐานตา มีลักษณะเป็นปล้อง ทำหน้าที่ในการสัมผัส ดมกลิ่นหรือการรับฟัง
หนวดเป็นระยางค์ที่มีจำนวนปล้องตลอดจนรูปร่างแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับวิวัฒนาการ แต่หนวดทุกแบบมีลักษณะพื้นฐาน 3 ส่วนคือ
ฐานหนวด (scape) ข้อต่อหนวด (pedicel) และเส้นหนวด (flagellum)
หนวดของแมลงแบ่งตามรูปร่างลักษณะได้ 13 แบบ ดังนี้

หนวดแบบเส้นด้าย (filiform)
หนวดแบบกระบอง (clavate)
หนวดแบบลูกตุ้ม (capitate)
ลักษณะยาวเรียว ขนาดปล้องไล่เลี่ยกัน
เช่น หนวดของตั๊กแตน แมลงสาบ ด้วงเสือ
ปล้องส่วนปลายขยายใหญ่ต่อกัน รูปคล้ายกระบอง
เช่น หนวดของผีเสื้อกลางวัน
ปล้องส่วนปลายขยายใหญ่เป็นปมคล้ายลูกตุ้ม
เช่น หนวดของแมลงเหนี่ยง
หนวดแบบแผ่นใบไผ่ (flabellate)
หนวดแบบใบไม้ (lamellate)
หนวดแบบฟันหวี (pectinate)
ด้านข้างของปล้องยื่นออกเป็นแผ่นเรียวยาว
คล้ายใบไผ่เรียงซ้อนกัน มีแกนติดอยู่ตรงด้านข้าง
เช่น หนวดของด้วงสีดา
ปล้องส่วนปลายแบนเป็นแผ่นกว้าง มีแกนติดอยู่ด้านข้าง
ทำให้มีลักษณะคล้ายก้าน และใบไม้
เช่น หนวดของด้วงมะพร้าว
ด้านข้างของปล้องยื่นออกมีลักษณะคล้าย
ฟันหวี เช่น หนวดของผีเสื้อยักษ์
หนวดแบบข้อศอก (geniculate)
หนวดแบบสร้อยลูกปัด (moniliform)
หนวดแบบฟันเลื่อย (serrate)
ปล้อง scape ยาวกว่าปล้องอื่น
pedicel หักเป็นรูปข้อศอก เช่น หนวดของ
มด ผึ้ง แตน แมลงภู่
ปล้องมีลักษณะกลม มีขนาดเท่าๆกัน
เช่น หนวดของปลวก
ปล้องเป็นรูปสามเหลี่ยมเรียงกันคล้ายฟันเลื่อย
เช่น หนวดของแมลงทับ ด้วงดีด
หนวดแบบมีขนอะริสตา (aristate)
หนวดแบบเส้นขน (setaceous)
หนวดแบบเคียว (stylate)
ปล้องสุดท้ายขยายใหญ่ มีขนที่เรียกว่า
อะริสตา (arista) ติดอยู่ เช่น หนวดของแมลงวัน
ขนาดปล้องเรียวเล็กลงไปทางปลายหนวด
เช่น หนวดของแมลงปอ เพลี้ยจักจั่น
ปล้องสุดท้ายมีลักษณะงุ้ม คล้ายเคียว
เช่นหนวดของเหลือบ
 
 
หนวดแบบพู่ขนนก (plumose)
ทุกปล้องมีขนยาวเป็นพู่รอบๆ
เช่นหนวดของยุงตัวผู้

 

 

เอกสารอ้างอิง
  ทัศนีย์ แจ่มจรรยา.2533.บทปฏิบัติการกีฏวิทยาเบื้องต้น. ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 168 หน้า.
  อินทวัฒน์ บุรีคำ.2530. บทปฏิบัติการกีฏวิทยาทางการเกษตร. ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 210 หน้า.