เตือนการระบาดของหอยเชอรี่
|
|
สถานการณ์การระบาดของหอยเชอรี่พบอย่างต่อเนื่อง
มักเกิดการระบาดของหอยเชอรี่กัดทำลายต้นกล้าหรือปักดำใหม่ ๆ และใกล้บริเวณเขตชลประทาน
คลองส่งน้ำ แหล่งน้ำธรรมชาติมีน้ำไหล ห้วย หนอง คลองบึง แม่น้ำ บ่อน้ำตื้น
พื้นที่มีน้ำท่วมซ้ำซาก และบริเวณที่เคยมีการระบาดของหอยเชอรี่ของปีที่แล้ว
ลักษณะการทำลายต้นกล้าของหอยเชอรี่ซึ่งอยู่ระยะข้าวใบอ่อน ๆ กัดกินแล้วส่งเข้าในช่องปากกล้ามเนื้อรอบ
ๆ มีฟันแหลมขยับไปมาบนอาหารมีฟันจำนวนหลายร้อยซี่เรียงกันเป็นแถวขวาง
มีรูปร่างและขนาดแตกต่างกันระหว่างซี่ฟันตรงกลางและริม มีจำนวนซี่ฟันแตกต่างกันแล้วแต่ละชนิด
ซึ่งใช้ในการจำแนกชนิดหอยด้วย หากไม่มีต้นข้าวหอยเชอรี่ก็จะกินพืชน้ำอื่น
ๆ ที่อ่อนนิ่ม เช่น แหน แหนแดง จอก ผักบุ้ง ผักกะเฉด สาหร่ายต่าง ๆ ยอดอ่อนผักตบชวา
ต้นหญ้าที่อยู่ริมน้ำ รวมถึงซากพืช ซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยในน้ำที่อยู่ใกล้ตัวหอย
สามารถกินได้รวดเร็ว เฉลี่ยวันละ 50 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว และกินได้ตลอด
24 ชั่วโมง ชอบหลบแดดในวันแดดจัดใต้ร่มเงา พืชน้ำต่าง ๆ อาศัยบริเวณโคนต้นไม้ใหญ่ริมน้ำข้าง
ๆ คันนา |
ลักษณะทั่วไป |
|
เป็นหอยฝาเดียว รูปร่างค่อนข้างกลมใหญ่
เปลือกเรียบมีฝาปิด (Opercalum) เป็นแผ่นแข็งสีน้ำตาลเข้มและใส ตัวหอยสามารถหลบเข้าอยู่ภายในเปลือก
(Shell) แล้วปิดฝาเพื่อป้องกันอันตราย มีรูปร่างคล้ายหอยโข่งไทย แต่ต่างกันที่สี
มีเปลือกบาง และมีร่องลึกกว่า วงปากจะกลมกว้างกว่าหอยเชอรี่ หากจำแนกด้วยตาเปล่าเป็น
2 พวก คือ
1. หอยเชอรี่มีเปลือกสีเหลืองปนน้ำตาล เนื้อและหนวดสีเหลือง
2. หอยเชอรี่เปลือกสีเขียวเข้มปนดำ และมีแถบสีดำจาง ๆ พาดตามความยาว
เนื้อและหนวดมีสีน้ำตาลอ่อน การหมุนของเปลือกจะเป็นเกลียววนขวา
การเคลื่อนที่ของหอยเชอรี่โดยใช้เท้าที่ยืดยาวหรือกว้างแบนใช้คืบคลาน
ถ้าถูกรบกวนจะหดลำตัวเข้าภายในเปลือก ลอยตัวตามกระแสน้ำไหล มีหนวดใช้สัมผัสและรับความรู้สึก
บนแผนปากจะมีหนวดเส้นเล็กยาวข้างละหนึ่งเส้น ถัดออกมาจะมีตาเล็ก ๆ
ตั้งอยู่บนก้านตา ภายในปากจะมีกรามขนาดใหญ่หนึ่งคู่ใช้กัดกินอาหาร
ถัดจากกรามเข้าไปภายในเป็นฟันซี่เล็ก ๆ สีแดงเรียงซ้อนกัน 5 แถว มีหน้าที่บดอาหาร
อายุหอย 3 เดือน ผสมพันธุ์กันขยายเพิ่มประชากรได้ตลอดเวลา
|
วงจรชีวิตหอยเชอรี่ |
|
กลุ่มไข่
ยาว 2-3 นิ้ว ใช้เวลา 5-15 วันจะฟักเป็น ลูกหอยเกิดใหม่
อายุ 3 เดือน จะโตเป็นแม่พันธุ์พ่อพันธุ์หอย ยาว 8.3 ซม. น้ำหนักเฉลี่ย
165 กรัม
ในฤดูแล้งหอยจะหลบฝังตัว จำศีล 3-4 เดือน เมื่อมีฝนตกใหมหรือมีน้ำ
ก็กลับเจริญเติบโตหากินอาหารได้อีก
|
|
|
การป้องกันกำจัด |
|
1. วิธีกล - ใช้ตาข่ายไนลอนผืนใหญ่ปูลงบนพื้นที่นาที่คราดใหม่
ๆ ล่อด้วยยอดมะละกอหรือพืชที่มียางวางเป็นหย่อม ๆ ทิ้งไว้ 2-3 วัน
แล้วยกตาข่ายไนล่อนที่มีหอยขึ้นไปทำลายหรือไปใช้ประโยชน์ต่อไป
2. ชีววิธี - ศัตรูธรรมชาติ
- มีนกปากห่าง นกอีลุ้ม นกเป็ดน้ำ และศัตรูธรรมชาติบางชนิด เช่น ด้วงดิ่ง
แมลงดานา หิ่งห้อยกินกลุ่มไข่หอยเชอรี่
- อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ ให้ลดการใช้สารเคมีใช้วิธีกลแทน นำหอยไปใช้ประโยชน์
3. ใช้การปราบต่อเนื่องทุกปีมีกิจกรรมใช้ประโยชน์จากหอยทุกวันทุกสัปดาห์ต่อเนื่องชัดเจนในกลุ่มชุมชนที่มีปัญหาหอยเชอรี่ทำน้ำหมักหอยเชอรี่
4. ใช้สารเคมี เป็นวิธีสุดท้ายเท่านั้น เช่น คอปเปอร์ชัลเฟต (จุนสี)
นิโคลซาไมด์ 25% อีซี (บลูไซด์) อัตราใช้ตามคำแนะนำข้างขวด
สรุป
ใช้วิธีกลร่วมกับวิธีรณรงค์ปราบหอยเชอรี่อย่างต่อเนื่องดีที่สุด เช่น
กิจกรรมปราบหอยเชอรี่รายวัน
ให้ตระหนักในใจว่า "วันนี้คุณปราบหอยแล้วหรือยัง"
|
|
|
ที่มา |
ศักดา ศรีนิเวศน์
การจัดการหอยเชอรี่ กรมส่งเสริมการเกษตร (2544) |