|
ชื่อวิทยาศาสตร์ : สะเดาไทย Azadirachta indica var.siamensis
สะเดาอินเดีย Azadirachta indica
สะเดาช้าง Azadirachta excelsa
ชื่อสามัญ : neem
วงศ์ (Family) : Meliaceae
ชื่ออื่น : สะเลียม (ภาคเหนือ) กะเดา ไม้เดา เดา (ภาคใต้) กะเดา กาเดา (ภาคอีสาน) |
|
|
|
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยแหลม (แต่สะเดาไทยปลายทู่กว่าสะเดาอินเดีย) โคนใบเบี้ยว ฐานใบเยื้องกัน ใบสะเดาไทยขมน้อยกว่า สะเดาอินเดียออกดอกแน่นกว่า ก้านดอกสั้นกว่าสะเดาอินเดีย
ส่วนขยายพันธุ์ เมล็ดและการตอน
ส่วนที่ใช้ ใบ, ผล, เมล็ด, และเนื้อในเมล็ด
สารออกฤทธิ์ azadirachtin |
|
 |
|
สารสกัดจากสะเดา สามารถควบคุมศัตรูพืชได้ต่างกัน ดังนี้
ได้ผลดี หนอนกระทู้ผัก, หนอนกระทู้หอม, หนอนใยผัก, หนอนแก้วส้ม, หนอนชอนใบ, เพลี้ยอ่อน, เพลี้ยไก่แจ้, หนอนบุ้ง
ได้ผลปานกลาง หนอนเจาะสมอฝ้าย, หนอนเจาะผลเขือยาว, หนอนเจาะยอดคะน้า, หนอนเจาะดอกกล้วยไม้, เพลี้ยไฟ, เพลี้ยจั๊กจั่นฝ้าย, แมลงหวี่ขาว, ไรแดง
ได้ผลน้อย ตัวเต็มวัยหมัดกระโดด, ไรสนิม, มวนเขียว |
|
วิธีใช้
ส่วนเมล็ด >> นำเมล็ดแก่ประมาณ 1 กิโลกรัมมาบดและแช่น้ำ 20 ลิตรทิ้งไว้ 12 - 24 ชั่วโมง กรองเอาแต่น้ำ ฉีดพ่นในแปลงพืช ทุก 6- 10 วัน ในช่วงเวลาเย็น
ใบสด >> นำใบสด ประมาณ 2 กิโลกรัม มาบดหรือโขลกละเอียด แช่น้ำ 20 ลิตร นาน 24 ชั่วโมง นำน้ำหมักมาฉีด ไล่แมลงในแปลงปลูกพืช ทุก 6- 10 วัน ในช่วงเวลาเย็น
สะเดาบด >>
นาข้าว : ใช้สะเดาบด 10 กก./ไร่ หว่านในนาข้าวทุก ๆ 30 วัน
แปลงข้าวโพด : ใช้สะเดาบด 10 กรัม/ต้น หยอดยอดข้าวโพด
แปลงผัก : ใช้สะเดาบด 10 กรัม รองก้นหลุม ในผักกาดหัว มันเทศ
|
|
 |
|
คุณสมบัติของสารสกัดจากสะเดา
1. ยับยั้งการกินอาหารของแมลง
2. มีสารขับไล่แมลง
3. ยับยั้งการเจริญเติบโต/ลอกคราบของแมลง
4. ยับยั้งการวางไข่
5. ระงับการสร้างสารไคติน
6. รบกวนการผสมพันธุ์
7. ทำให้หนอนไม่กลืนอาหาร |
|
 |
|
บรรณานุกรม
ขวัญชัย สมบัติศิริ.2542.หลักการและวิธีการใช้สะเดาป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการ โครงการเกษตรกู้ชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฉบับที่ 1 32 หน้า.
ลาวัลย์ จีระพงษ์ . 2542. การเตรียมและการใช้พืชสมุนไพรในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช. สถาบันส่งเสริมเกษตรชีวภาพ และโรงเรียนเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร. 47 หน้า |
|