ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cotesia flavipes Cameron
วงศ์ (Family) : Braconidae
อันดับ (Order) : Hymenoptera
 
 

แตนเบียนโคทีเซีย เป็นแตนเบียนหนอนกออ้อยในระยะหนอน ซึ่งใช้ควบคุมหนอนกออ้อยได้หลายชนิด เช่น หนอนกอลายจุดใหญ่ หนอนกอลายจุดเล็ก หนอนกอแถบลายหรือหนอนกอลายใหญ่ และหนอนกอสีชมพู 

   
  รูปร่างและลักษณะการเจริญเติบโต
  แตนเบียนโคทีเซีย มีลักษณะการเจริญเติบโต 4 ระยะ คือ ระยะไข่ ตัวหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย วงชีวิตรวมประมาณ 23 - 28 วัน
 

ไข่ -สีขาวใส ยาวเรียว ส่วนกลางใหญ่ ส่วนท้ายเรียวแหลม ผิวเรียบ ยาวประมาณ 0.12 มิลลิเมตร กว้างประมาณ 0.04 มิลลิเมตร มีอายุ 1 - 2 วัน
ตัวอ่อน -ตัวหนอนสีขาวขุ่น ส่วนท้ายเป็นกระเปาะ มีอายุประมาณ 2 สัปดาห์
ดักแด้ - มีลักษณะยาวรี มีเส้นใยสีขาวหุ้ม เมื่อเข้าดักแด้ใหม่ๆมีสีขาว ใกล้ฟักจะเป็นสีดำ อายุ 7 - 8 วัน
ตัวเต็มวัย -ส่วนอกและท้องเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีขนปกคลุม หนวดเป็นแบบเส้นด้าย ส่วนมากเพศเมียจะมีลำตัวใหญ่กว่าเพศผู้ คือยาวประมาณ 1.64 มิลลิเมตร หนวดสั้นกว่า (ยาวประมาณ 1 - 1.5 มิลลิเมตร) มีอวัยวะวางไข่ยื่นยาวเห็นได้ชัดเจน อายุ 4 - 5 วัน ส่วนเพศผู้ มีลำตัวเล็กกว่าเพศเมีย หนวดยาวกว่า (ยาวประมาณ 2 - 2.5 มิลลิเมตร) มีอายุ 4 - 6 วัน

 
  ลักษณะการทำลาย
 

ตัวเต็มวัยเพศเมียที่ผสมพันธุ์แล้ว จะวางไข่ในลำตัวของหนอนกออ้อย แล้วไข่จะฟักเป็นตัวหนอนและเจริญเติบโตอยู่ภายในลำตัวของหนอนกออ้อยทำให้หนอนกออ้อยอ่อนแอ ไม่เจริญเติบโต จากนั้นแตนเบียนจะเจาะผนังลำตัวหนอนกออ้อยออกมาเข้าดักแด้ภายนอก

 
   
  การนำไปใช้ควบคุมศัตรูพืช
  ปล่อยตัวเต็มวัยที่ผสมพันธุ์แล้ว อัตราการใช้ 100 - 500 ตัว /ไร่
 
  เอกสารประกอบการเรียบเรียง
  นุชรีย์ ศิริ,ทัศนีย์ แจ่มจรรยา.2546.เทคนิคการเพาะเลี้ยงศัตรูธรรมชาติและการควบคุมหนอนกออ้อยโดยชีววิธี. เอกสารประกอบการฝึกอบรม ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 61 หน้า.